ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มิตซูบิชิ กาแลนต์

มิตซูบิชิ กาแลนต์ (Mitsubishi Galant) เป็นรถยนต์ขนาดครอบครัว ผลิตโดย มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ถึง พ.ศ. 2555 โดยแบ่งวิวัฒนาการออกเป็น 9 เจเนอเรชัน(โฉม) โดยกาแลนต์โฉมที่ 1-7 จัดเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) แต่กาแลนต์โฉมที่ 8 เป็นต้นมา จัดเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-size Car) และเมื่อพิจารณาแล้ว กาแลนต์ ถือเป็นรถรุ่นที่เทียบได้ใกล้เคียงกับ ฮอนด้า แอคคอร์ด และ โตโยต้า คัมรี่ มาก

มิตซูบิชิ กาแลนต์ได้เคยนำมาขายในประเทศไทยในช่วงหนึ่งโดยบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย โดยเป็นรถขนาดใกล้เคียงกับโตโยต้า โคโรน่า ,ฮอนด้า แอคคอร์ด ,นิสสัน เซฟิโร่ และมาสด้า 626 เริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงยุควิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยทำให้หลายยี่ห้อซึ่งมีรถขนาดกลางมาทำตลาดต้องเลิกทำตลาดไป เช่น ฟอร์ด มาสด้า รวมถึงมิตซูบิชิเองด้วยโดยไม่มีทีท่าที่จะนำรถประเภทนี้มาขายกันง่ายๆ และยังไม่นับรวมผู้ผลิตรายเล็กๆ ที่นำรถขนาดกลางมาทำตลาดในประเทศไทยแบบ Niche Market ในปัจจุบันเช่น เปอโยต์ ฮุนได สโกด้า ซูบารุ โฟล์กสวาเกน เป็นต้น

กาแลนต์โฉมแรกนี้ รู้จักกันดีในชื่อ Colt Galant ใช้เครื่องยนต์ชื่อ Saturn Engine ขับเคลื่อนรถ โดยมีเครื่องยนต์ 4G30 (1.3 ลิตร) และ 4G31 (1.5 ลิตร)

ในช่วงแรก กาแลนต์มีเฉพาะรถ Sedan 4 ประตู แต่ต่อมาก็มีการผลิตรถ Sedan 2 ประตูขึ้นใน พ.ศ. 2513 และในปีเดียวกัน ก็มีการผลิตกาแลนต์เป็นรถ Coupe (รถสปอร์ต) ขายในชื่อ Mitsubishi Galant GTO ซึ่งนำไปสู่การผลิตรถสปอร์ตรุ่น Mitsubishi FTO ใน พ.ศ. 2537

พ.ศ. 2514 กาแลนต์โฉมนี้ถูกส่งออกไปยังอเมริกา ซึ่งเป็นรถรุ่นแรกของมิตซูบิชิที่มีขายใน สหรัฐอเมริกา (ในสหรัฐอเมริกา กาแลนต์มีชื่อว่า Dodge Colt)

กาแลนต์โฉมนี้ ส่งออกในหลายประเทศมากขึ้น เป็นตัวช่วยขยายตลาดการส่งออกของมิตซูบิชิได้ดี มีการส่งขายกาแลนต์ไปยังประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา และ ทวีปยุโรป ใช้เครื่องยนต์ชื่อ Astron Engine ช่วยเพิ่มแรงม้า ลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงดังจากเครื่องยนต์

โฉมนี้ ในช่วงแรกยังมีตัวถัง 2 แบบดังโฉมที่ 2 โดยในประเทศญี่ปุ่น จะเรียกรถ Sedan 4 ประตูว่า Galant Sigma รวมถึงในประเทศไทย ที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า Galant Sigma และเรียกรถ Coupe 2 ประตูว่า Galant Lambda แต่ต่อมา มีการสร้างเป็นรถแบบ Station Wagon 5 ประตู

โฉมนี้ กาแลนต์เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ชื่อ Sirius แต่ในรุ่นที่ราคาถูก จะใช้เป็นเครื่องรุ่น Astron 4D55 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ในรถเก๋งรุ่นแรกที่ใช้น้ำมันดีเซล และนอกจากนี้ กาแลนต์ในโฉมนี้ เริ่มเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบหัวฉีดอิเลกทรอนิกส์ แทนเครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันและเพิ่มอัตราเร่ง

กาแลนต์ในโฉมนี้ มีการพัฒนาประสิทธิภาพอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยให้สูงขึ้น ท้ายรถบรรจุของได้มากขึ้น และมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสียงในห้องโดยสาร ช่วยให้เสียงเครื่องยนต์รบกวนในห้องโดยสารลดลง

โดยทั่วไปแล้ว กาแลนต์โฉมที่ 4 เลิกผลิตใน พ.ศ. 2526 แต่ในออสเตรเลีย มีการผลิตโฉมที่ 4 นี้ไปจนถึง พ.ศ. 2530 เลยทีเดียว

โฉมที่ 5 เปลี่ยนไปใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า มีการใช้เครื่องยนต์ทั้ง Astron และ Saturn ขนาดลูกสูบตั้งแต่ 1.6 ไปจนถึง 3.0 ลิตร เริ่มหายไปจากท้องตลาดใน พ.ศ. 2530 เมื่อกาแลนต์ผลิตโฉมที่ 6 ออกมา

โฉมที่ 6 นี้ กาแลนต์มีความสูงมากขึ้น และเริ่มมีความโค้งมน ซึ่งต่างจากรถทั่วไปที่สมัยนั้นจะเป็นเหลี่ยม ๆ และได้รับรางวัล Car of the Year Japan ประจำปี ค.ศ. 1987 และกลายเป็นเทรนด์รถยนต์ที่มาแรงในยุคนั้น

เริ่มมีการนำรถกาแลนต์ไปใช้เป็นรถสปอร์ตกับรถแรลลี่ ทำให้รถกาแลนต์โฉมที่ 6 ใหญ่กว่าโฉมก่อนไม่มากนัก เพราะต้องการเน้นความเพรียวกระชับแบบรถสปอร์ต ทิ้งความเป็นรถครอบครัวขนาดใหญ่ไปชั่วขณะ

แต่การนำกาแลนต์ไปทำรถสปอร์ต เริ่มเกิดขึ้นจริง ๆ ในยุคของโฉมที่ 2 แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก ในยุคโฉมที่ 2-5 ถือกันว่ากาแลนต์คือรถครอบครัว แต่ว่าโฉมที่ 6-7 นี้ กาแลนต์เพรียวกระชับจนแทบจะนับได้ว่าเป็นรถสปอร์ต

โฉมที่ 7 เป็นโฉมสุดท้ายที่กาแลนต์ถูกจัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาดเล็ก เนื่องจาก มิตซูบิชิ แลนเซอร์ รถยนต์อีกรุ่นที่มีขนาดเล็กกระชับกว่า (แต่ก็ใช้เป็นรถครอบครัวขยาดย่อมได้เช่นกัน) เริ่มมีความนิยมนำไปใช้เป็นรถสปอร์ตมากขึ้น เนื่องจากการที่คนซื้อกาแลนต์ในช่วงโฉมที่ 5 มีสัดส่วนไม่น้อยที่ต้องการซื้อกาแลนต์ไปใช้เป็นรถสปอร์ต แต่เมื่อรถสปอร์ตของมิตซูบิชิในใจผู้ซื้อมีแลนเซอร์เข้าแทนที่ เนื่องจากการที่แลนเซอร์ออกรุ่นพิเศษ คือ Lancer Evolution ทำให้กาแลนต์เริ่มมีความนิยมลดลง

กาแลนต์โฉมนี้ แม้จะพยายามใส่ Options รถสปอร์ตไปมากขึ้น แต่ความนิยมก็ไม่ได้เพิ่มมา โฉมที่ 7 จึงเป็นโฉมที่ กาแลนต์ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าโฉมอื่นนัก

ในประเทศไทย ได้นำมาจำหน่ายในชื่อ มิตซูบิชิ กาแลนต์ อัลติมา โดยเป็นรุ่นสุดท้ายที่ประกอบในประเทศ และในรุ่นต่อมาก็มีทำตลาดแบบเงียบๆ ไม่มากนัก

จากความผิดพลาดทางการตลาดที่มิตซูบิชิประสบกับกาแลนต์ในช่วงโฉมที่ 7 ในโฉมที่ 8 นี้จึงละทิ้งความเป็นรถสปอร์ตของกาแลนต์ลง ยุติการผลิตตัวถัง Coupe หันมาเป็นรถยนต์ขนาดกลางสำหรับครอบครัวแทน แล้วกาแลนต์ก็กลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งด้วยรางวัล Car of the Year Japan

โฉมนี้มีการคิดค้นระบบเกียร์แบบกึ่งอัตโนมัติ (semi-automatic) มาใช้ควบคู่กับระบบเกียร์ธรรมดา (manual) และเกียร์อัตโนมัติ (automatic) ในประเทศไทย มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) เคยนำเข้ากาแลนต์รุ่นนี้มาเพียงล็อดเล็กๆ เท่านั้น

โฉมนี้ กาแลนต์มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีลักษณะดูดีขึ้น ทางมิตซูบิชิได้นำไปแสดงในงานมอเตอร์โชว์ระดับนานาชาติ ด้วยขนาดใหญ่ขึ้น Options มากขึ้น แต่ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า และมีราคาที่ถูกลง แต่รุ่นนี้กลับไม่มีจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น

โฉมนี้ได้เลิกผลิตและจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้ว เนื่องจากความนิยมรถขนาดกลางลดลง ถือว่าอยู่ในช่วงขาลงของรถยนต์ประเภทนี้ ผู้คนหันมาใช้รถยนต์ที่ขนาดเล็กลงแทน สาเหตุเป็นเพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้มิตซูบิชิประสบปัญหาเป็นอย่างมากในการขายกาแลนต์โฉมนี้ รวมถึง Mitsubishi Motors เองก็ประสบปัญหาการเงินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 แล้ว มิตซูบิชิจึงได้ตัดสินใจเลิกผลิตกาแลนต์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2555 อย่างไรก็ดี ได้มีการผลิตรถยนต์รุ่นใหญ่กว่ากาแลนต์ออกมาจำหน่าย ในชื่อ มิตซูบิชิ พราวเดีย และมิตซูบิชิ ดิกนิตี และเตรียมกลับมาผลิตรถยนต์นั่งขนาดกลางสำหรับตลาดอเมริกาเหนืออีกครั้ง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180